การจัดหาห่วงโซ่ความเย็น (SUPPLY COLD CHAIN) และโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร
เนื่องจากขาดการจัดเก็บและการกระจายที่เหมาะสม ทำให้ที่ผ่านมา เกษตรกรสูญเสียผลิตผลทางการเกษตรจำนวนมาก ดังนั้นการวางแผนและการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ของการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร ผู้ผลิต สถานที่จัดเก็บ ไปจนถึงผู้บริโภค หรือลูกค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ห่วงโซ่ความเย็น หรือ Cold Chain เป็นห่วงโซ่อุปทานที่มีการควบคุมอุณหภูมิของห้องเย็นและการกระจายสินค้า เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้มีระยะเวลานานขึ้น ด้วยความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน Cold chain หรือห่วงโซ่ความเย็น ได้รับความสนใจจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือนักลงทุน
อุตสาหกรรม Cold Chain จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ที่มีอายุจำกัด เช่น ผลไม้ตามฤดูกาล ฯลฯ เป็นความเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค ระบบบูรณาการนี้ช่วยรักษาคุณภาพทั้งในด้านคุณค่าทางโภชนาการ ความสด รสชาติ และรูปลักษณ์ ซึ่งในประเทศไทยก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ และเป็นผู้นำด้านการส่งออกสินค้าเกษตรต่างๆ อย่างไรก็ตาม การขาดการจัดเก็บอาหาร การแปรรูป และการขนส่งอาหารแช่เย็นอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ก็ยังเป็นความท้าทายของภาคการผลิต ที่ยังขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ทำให้สูญเสียวัตถุดิบ และทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
Cold Chain Supply (CCS) คืออะไร ?
เป็นแนวคิดที่เพิ่งริเริ่มนำมาใช้ในการจัดการ Cold Chain หรือ Cold Chain Management (CCM) โดยเป็นเครือข่ายบริการตู้เย็น ห้องเย็น รถบรรทุกห้องเย็น ตู้แช่แข็งและกล่องเก็บความเย็น ฯลฯ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อรักษาความสด และคุณค่าทางโภชนาการ ระหว่างการขนส่ง การเก็บรักษา และการกระจายสินค้าจากโรงงานไปยังจุดใช้งาน
ห่วงโซ่ลอจิสติกส์จะควบคุมสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ไว้ภายในพารามิเตอร์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะสำคัญของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการดูแล การจัดหาห่วงโซ่ความเย็นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นการจัดเก็บที่เหมาะสม และต่อเนื่อง ตลอดจนรูปแบบการจัดจำหน่าย และระยะเวลาการจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ผัก ดอกไม้ เนื้อสัตว์ ผลไม้ และยา วัคซีนทางการแพทย์ ฯลฯ
Cold Chain Management/Supply (CCM/CCS) จึงมีความสำคัญต่อเกษตรกร และบริษัทที่ทำงานในอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยการพัฒนาห่วงโซ่ความเย็นที่ทันสมัยพร้อมอุณหภูมิที่ควบคุมโดยทั่วไป องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ประมาณการว่าจะต้องมีความพร้อมในการผลิตอาหารเพิ่มขึ้น 45% ภายในปี 2573 เพื่อให้มีอาหารเพียงพอต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว การสูญเสียผลิตภัณฑ์ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประชากรกว่า 80% ทั่วโลกอาศัยอยู่ 1 ใน 4 ของการสูญเสีย มีสาเหตุจากความไม่สมบูรณ์ของห่วงโซ่ความเย็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร และเศรษฐกิจ และเป็นปัญหาสำหรับชนบท หรือพื้นที่ห่างไกล ที่มองเห็นช่องว่างราคา ระหว่างผู้บริโภคและเกษตรกรอย่างชัดเจนอโดย Cold Chain Supply ที่สมบูรณ์จะทำให้สินค้ามีราคาถูกลงสำหรับผู้บริโภค และรายได้ที่เพิ่มขึ้นสำหรับเกษตรกร หรือผู้ผลิต เนื่องมาจากการลดต้นทุนจากผลิตผลเสียหาย
ประโยชน์ของ Cold Chain Supply
• สินค้ามีคุณภาพที่ดีมากขึ้น ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ ความสด สี เนื้อสัมผัส
• ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย เนื่องจากเก็บในสภาวะความเย็นที่เหมาะสม
• ปลอดภัยในเรื่องสุขอนามัยของผู้บริโภค
• สามารถรักษาความชื้นได้ตามต้องการ
• เก็บรักษาผลิตภัณฑ์/การยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น
• เพิ่มมูลค่าของสินค้าได้
• ทำการตรวจสอบ หรือแก้ไขปัญหาแบบย้อนกลับได้ตามวงจรของ Cold Chain ได้ง่าย
• การจัดการที่ดีขึ้น ทั้งในด้านสินค้าคงคลัง โดยใช้ระบบอัตโนมัติ
• สร้างความเติบโตของอุตสาหกรรมขนส่ง และอุตสาหกรรมห้องเย็น
ความท้าทาย และอุปสรรคของ Cold Chain
• ต้นทุนการใช้พลังงานสูง :
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับธุรกิจห้องเย็น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพียงอย่างเดียวคิดเป็น 30% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ปัจจัยนี้ทำให้หลายธุรกิจ อาจจะไม่ได้เข้าถึง การติดตั้ง ห้องเย็น แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทำให้ห้องเย็น ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตคืนต้นทุนได้ไวกว่าเดิม แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการเริ่มติดตั้งห้องเย็นเป็นอุปสรรคที่ทำให้เกษตรกร หรือผู้ผลิตรายย่อยยังไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือการรวมกลุ่มในส่วนนี้
• ต้นทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดินที่เพิ่มขึ้น :
สถานที่จัดเก็บห้องเย็นแบบครบวงจร จำเป็นต้องใช้ที่ดิน ที่ขนส่ง หรือเคลื่อนย้ายได้สะดวก ซึ่งคิดเป็น 10-12% ของต้นทุนโครงการ ดังนั้นตำแหน่งจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการ ติดตั้งห้องเย็น ซึ่งมีไม่มากนักที่เกษตรกร หรือผู้ผลิตรายย่อยจะครอบครองที่ดินที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
• ขาดการสนับสนุนด้านลอจิสติกส์
• การกระจายกำลังการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ :
การลงทุนติดตั้งห้องเย็นส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นในจังหวัด หรือพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรม ที่มีความเจริญ และการขนส่งเข้าถึง ทำให้กระจายสินค้าไปยังพื้นที่ห่างไกลได้ยาก ประการที่สอง ห้องเย็นบางแห่งสามารถรองรับสินค้าประเภทเดียวได้เท่านั้น
ดังที่กล่าวมา ปัญหาของอุตสาหกรรมห่วงโซ่ความเย็นที่มีในปัจจุบัน ทำให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ยังคงความเสียหายอยู่จำนวนไม่น้อย เพราะห่วงโซ่ความเย็นยังแสดงศักยภาพได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสาเหตุบางประการ เช่น การลงทุนเริ่มแรกสูง (สำหรับห้องเย็นและที่ดิน) การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวย เช่น พลังงาน ถนน การขนส่ง รวมทั้งขาดความตระหนักในการจัดการผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บหรือการขนส่ง ซึ่งนำไปสู่การส่งผลผลิตคุณภาพต่ำ สู่ผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเมืองที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตของภาคการค้าปลีก การบริการด้านอาหาร และการแปรรูปอาหารกำลังกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมห่วงโซ่ความเย็นในระดับประเทศ และภูมิภาค แนวโน้มอุตสาหกรรม กำลังเปลี่ยนไปสู่การสร้างห้องเย็นอเนกประสงค์มากขึ้น และให้บริการแบบครบวงจรเพื่อควบคุมพารามิเตอร์ต่างๆ ตลอดห่วงโซ่ความเย็น
นวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ วิศวกรรมชีวภาพ และเทคนิคอื่นๆ จะช่วยลดความเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์อาหารได้ เทคโนโลยีการขนส่งแบบใหม่ จะทำให้สามารถขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่ายได้ในระยะทางที่ไกลกว่า ดังนั้นจึงส่งผลต่อรายได้ที่ผู้ผลิตจะได้รับเพิ่มขึ้น ดังนั้นทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ผู้ผลิตรายใหญ่ หรือผู้ให้บริการ Cold Chain ฯลฯ จะต้องมีการเชื่อมโยงและการขนส่งที่ดีขึ้นระหว่างเกษตรกร กระบวนการผลิต การจัดเก็บ ไปจนถึงลูกค้า ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Powered by Froala Editor